พระกรุวัดท่าเรือ พระกรุวัดนางตรา พระกรุวัดนาสนธิ์ พระไตรภาคีแดนใต้
พระกรุวัดท่าเรือ พระกรุวัดนางตรา พระกรุวัดนาสนธิ์ พระไตรภาคีแดนใต้
"พระไตรภาคี" เป็นพระเครื่องยอด นิยมอันดับหนึ่งของเมืองนครศรีฯ สมัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่นิยม กรุวัดท่าเรือ (วัดท่าโพธิ์), พระพิมพ์นาคปรกใหญ่ กรุวัดนางตรา และพระพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล กรุวัดนาสนธิ์ หรือที่เรียกกันในวงการนักเลงพระยุค นั้นว่า "ท่าเรือ นางตรา นาสนธิ์" ปัจจุบันนี้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมสูงและเสาะแสวงหากันอยู่ แต่ค่อนข้างหาดูได้ยากกว่าแต่ก่อนมาก ลองมาดูกันว่าแต่ละวัดเป็นอย่างไร
เริ่มที่ พระกรุวัดท่าเรือ
วัดท่าเรือ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดท่าโพธิ์" นั้น จากหลักฐานในหนังสือใบลานผูก ซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนโดยบัณฑิตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรี อยุธยา ระบุว่า "วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช โดยทรงสถาปนาวัดท่าเรือร่วมกับพระภิกษุชาวลังกา เพื่อประดิษฐานวิหารพระเจดีย์ รวมทั้งสร้าง "พระพิมพ์" ขนาดต่างๆ ขึ้น เพื่อฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่อาราธนาติดตัว โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลที่จะให้ชนรุ่นหลัง ผู้ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง ได้นำติดตัวออกไปป้องกันภัยเมื่อยามจำเป็น จึงทรงผูกลายแทงไว้คู่กับวัดท่าเรือ ..."
ต่อมา ทวดศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลามีชัย ได้แก้ลายแทงขุมทรัพย์วัดท่าเรือให้เจ้าพระยานคร (น้อย) และให้ทหารขุดเอา "พระกรุท่าเรือ" ไปป้องกันตัวในสงครามปราบกบฏเมืองไทรบุรี-กลันตัน เป็นครั้งแรก ในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 พระกรุวัดท่าเรือได้แสดงปาฏิหาริย์สามารถประกาศชัยชนะสยบศัตรูได้อย่างราบ คาบ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้รับความดีความชอบเลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย) องค์สุดท้ายของประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นก็ได้อาราธนาพระกรุท่าเรือติดตัวในการทำสงครามอีกหลายต่อหลาย ครั้ง อาทิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ปีพ.ศ.2484 เหล่าศัตรูเกรงขามในความคงกระพันชาตรีของทหารเมืองนครศรีฯ เป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละครั้งเหล่าทหารก็จะนำพระกลับไปคืนเก็บไว้ที่วัด ดังเดิม ตามความเชื่อในสมัยก่อนว่าพระต้องอยู่วัดเท่านั้น โดยใส่ไหใส่ตุ่มฝังไว้บ้าง โยนไว้แถวเจดีย์ ใต้ต้นไม้ หรือบริเวณลานวัดบ้าง
กาลต่อมา วัดท่าเรือได้แปรสภาพเป็นวัดที่รกร้างมาเป็นเวลายาวนาน ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ ปรักหักพังเสื่อมโทรม องค์พระถูกทับถมอยู่ตามบริเวณต่างๆ ภายในวัด จนเมื่อกรมศิลปากรปรับที่ดินเพื่อสร้าง "วิทยาลัยนาฏศิลป์" ประมาณปี พ.ศ.2519 ได้ขุดพบซากพระอุโบสถและอื่นๆ ตามที่ระบุในใบลานทุกอย่าง รวมทั้ง "พระกรุวัดท่าเรือ" เมื่อพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ก็ยิ่งเป็นที่ศรัทธาและแสวงหากันเพิ่มยิ่งขึ้น สนนราคาก็ขึ้นสูงตาม
พระกรุวัดท่าเรือที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดิน มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด มีแร่กรวดทรายผสมอยู่ค่อนข้างมาก ที่เป็นพระเนื้อชินมีเป็นส่วนน้อยมาก พุทธศิลปะเป็นแบบอยุธยาตอนต้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์เล็ก, พิมพ์วงเขน, พิมพ์ตรีกาย และพระปิดตา เป็นต้น แต่ที่นับว่าเป็น "พิมพ์นิยม" ได้รับ การยอมรับและจัดให้เป็นพระอันดับหนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่" หรือ "พระซุ้มชินราช พิมพ์ใหญ่" องค์พระตัดกรอบแบบสี่เหลี่ยม พุทธลักษณะงามสง่า พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานบัวสองชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบซุ้มชินราช มีปรกโพธิ์ปกคลุมเหนือซุ้ม
ต่อด้วย พระกรุวัดนางตรา
วัดนางตรา หรือ วัดพะนังตา ตามประวัติ ศาสตร์กล่าวว่าสร้างโดยพระนางเลือดขาว บุตรีของคหบดีย่านหมู่บ้านป่อล้อ (ปัจจุบันอยู่ใน ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่) เป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี คือ ใบหน้างาม เนื้องาม นมงาม นิ้วงาม และน่องงาม มีอุปนิสัยเยือกเย็น สุขุม มีเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และยังมีจิตใจเป็นกุศล ชอบการทำบุญ ทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลต่างๆ อยู่เป็น เนืองนิจ ต่อมาได้เป็นพระมเหสีเอก ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์
แต่จนถึงกาลมัชฌิมวัยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเพื่อสืบสันตติวงศ์ จึงเข้าเฝ้ากราบทูลลาออกจากตำแหน่ง และใช้ชีวิตในช่วงปัจฉิมวัยด้วยการสร้างบุญกุศลสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา โดยบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัด ขึ้นมากมายทั่วเขตเมืองนครศรีธรรมราช
ส่วนใหญ่จะสร้างทับลงในบริเวณที่เป็นเทวาลัยเก่าของศาสนาพราหมณ์ เพราะในต้นยุคสมัยศรีวิชัยนั้นคนพื้นเมืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ล้วนนับถือ ศาสนาพราหมณ์ อาทิ วัดแม่เจ้าอยู่หัว วัดเขาพระทอง วัดถ้ำเขาแดง วัดสระโนราห์ รวมถึง วัดพระนาง และในทุกๆ วัดนั้น ล้วนมีการขุดพบพระพิมพ์ ทั้งเนื้อดิน ชิน ทอง เงิน และสัมฤทธิ์ ที่เป็นพระเครื่องและพระบูชามากมาย สันนิษฐานว่าพระนางเลือดขาวสร้างไว้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติ ความเชื่อซึ่งนับเป็นกุศล อันยิ่งใหญ่
ต่อกันที่พุทธศิลป์ของ "พระกรุนางตรา"
พระกรุนางตราที่แตกกรุออกมา มีพุทธศิลปะแบบศรีวิชัยยุคกลาง มีอายุประมาณปี พ.ศ.1500-1600 สร้างก่อนอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สีออกน้ำตาลแก่ ดำอมเทา หรือเหลืองมันปู ที่เป็นเนื้อชินมีน้อยมาก และมีมากมายหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์สามเหลี่ยมปาฏิหาริย์ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พิมพ์ยืนประทานพร ฯลฯ แต่ที่เป็น "พิมพ์นิยม" หนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์นาคปรกใหญ่" เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม พระประธานประทับนั่งสมาธิ แสดงปางนาคปรก มีลักษณะพิเศษที่ใต้ฐานนาคจะมีพระองค์เล็กประทับอยู่อีกหนึ่งองค์
พระกรุนางตรามีพุทธคุณเป็นที่ปรากฏด้านเมตตาและแคล้วคลาดคงกระพันเป็น เลิศ ที่สำคัญพระเครื่องแตกกรุออกมาจำนวนไม่มากนัก จึงมีสนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงและเป็นที่หวงแหนมาก
สุดท้ายของ "พระไตรภาคีแดนใต้" นั่นคือ พระกรุวัดนาสนธิ์...
วัดนาสนธิ์เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญควบคู่กับวัดท่าเรือ คือ ได้รับการสถาปนามาจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อครั้งสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ทรงศรีวิชัยยุคแรก หรือเมื่อคราวสร้างเมือง "พระเวียง" เป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรตามพรลิงค์ บนหาดทรายแก้ว ในระหว่างปี พ.ศ.1089-1300
'วัดนาสนธิ์' นั้น อยู่ติดกับ 'วัดเตาปูน' ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเตาเผาเปลือกหอยเพื่อทำปูนขาวผสมยางไม้และข้าวเหนียว สำหรับก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ยุคแรก พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคงเสด็จมาตรวจเตาปูน และทรงเห็นว่าเป็นสถานที่สงบวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จึงได้สถาปนาที่ตั้งเตาปูนเป็น 'วัดเตาปูน' และที่ประทับชั่วคราวเมื่อเสด็จมาตรวจดูเตาปูนเป็น 'วัดนาสนธิ์' พร้อมกันนี้ ได้โปรดฯ ให้สร้าง "พระพิมพ์" บรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาที่วัดนาสนธิ์อีกด้วย
พระ กรุวัดนาสนธิ์เท่าที่ปรากฏพบมีด้วยกัน 3 พิมพ์คือ พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง, พิมพ์ผาลไถ และพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 'พระไตรภาคี'
1.พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง
พิมพ์วงแขนนี้ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9.5 เซนติเมตร เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก จุดที่น่าสังเกตและจดจำคือ พระทุกๆ องค์จะต้องมี 'เส้น' อย่างน้อยหนึ่งเส้นปรากฏลึก คม ชัด อยู่ด้านหลังองค์พระ และมี 'รารักดำ' จับแน่นอยู่ตามซอกหรือด้านหลังขององค์พระด้วย
พระพิมพ์นี้ได้รับความ นิยมรองๆ ลงมาจากพิมพ์ใบพุทรา ปัจจุบันก็หาดูหาเช่ายากพอๆ กัน และนอกจากพบที่ 'กรุวัดนาสนธิ์' แล้ว ยังมีปรากฏที่ 'กรุวัดท่าเรือ' เช่นกัน แต่จะมีจุดสังเกตความแตกต่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายมาก เป็นของ "กรุวัดท่าเรือ" แต่ถ้าเนื้อละเอียด หนึกนุ่ม ก็จะเป็นของ "กรุวัดนาสนธิ์"
2.พิมพ์ผาลไถ
พระพิมพ์นี้ ขนาดความสูงประมาณ 8.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร เนื้อหามวลสารจะเหมือนกับพระพิมพ์วงแขนทุกอย่าง คือ เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก
3.พิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล หนึ่งในพระไตรภาคี
พระพิมพ์ใบพุทรา เป็นพระศิลปะศรีวิชัยยุคต้นบริสุทธิ์ ประมาณปี พ.ศ.1100-1300 พุทธศิลป์จะเป็นแนวอินเดียสกุลช่างปาละเสนะ อันเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ที่เรียกว่า "ขนมต้ม" ของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยต่อมา
สำหรับด้านพุทธคุณ ไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ใดใน 3 พิมพ์ ถ้าขึ้นชื่อว่า "พระกรุวัดนาสนธิ์" แล้ว การันตีได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้ง อำนาจ วาสนา บารมี โชคลาภ และคงกระพัน เหลือจะบรรยาย ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้มีพระพิมพ์ศรีวิชัยติดตัว ย่อมมีชัยชนะอย่างสง่างามในทุกด้าน"
ก็ครบถ้วนกระบวนความสำหรับพระดังแดนใต้ 'ท่าเรือ นางตรา และนาสนธิ์' ที่ใครต่อใครก็อยากครอบครองเป็นเจ้าของ แต่นับวันจะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก โดยเฉพาะพิมพ์พิเศษในชุด "พระไตรภาคี" ครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บทความพระเครื่อง
http://www.itti-patihan.com/พระกรุวัดท่าเรือ-พระกรุวัดนางตรา-พระกรุวัดนาสนธิ์-พระไตรภาคีแดนใต้.html
"พระไตรภาคี" เป็นพระเครื่องยอด นิยมอันดับหนึ่งของเมืองนครศรีฯ สมัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่นิยม กรุวัดท่าเรือ (วัดท่าโพธิ์), พระพิมพ์นาคปรกใหญ่ กรุวัดนางตรา และพระพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล กรุวัดนาสนธิ์ หรือที่เรียกกันในวงการนักเลงพระยุค นั้นว่า "ท่าเรือ นางตรา นาสนธิ์" ปัจจุบันนี้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมสูงและเสาะแสวงหากันอยู่ แต่ค่อนข้างหาดูได้ยากกว่าแต่ก่อนมาก ลองมาดูกันว่าแต่ละวัดเป็นอย่างไร
เริ่มที่ พระกรุวัดท่าเรือ
วัดท่าเรือ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดท่าโพธิ์" นั้น จากหลักฐานในหนังสือใบลานผูก ซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนโดยบัณฑิตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรี อยุธยา ระบุว่า "วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช โดยทรงสถาปนาวัดท่าเรือร่วมกับพระภิกษุชาวลังกา เพื่อประดิษฐานวิหารพระเจดีย์ รวมทั้งสร้าง "พระพิมพ์" ขนาดต่างๆ ขึ้น เพื่อฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่อาราธนาติดตัว โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลที่จะให้ชนรุ่นหลัง ผู้ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง ได้นำติดตัวออกไปป้องกันภัยเมื่อยามจำเป็น จึงทรงผูกลายแทงไว้คู่กับวัดท่าเรือ ..."
ต่อมา ทวดศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลามีชัย ได้แก้ลายแทงขุมทรัพย์วัดท่าเรือให้เจ้าพระยานคร (น้อย) และให้ทหารขุดเอา "พระกรุท่าเรือ" ไปป้องกันตัวในสงครามปราบกบฏเมืองไทรบุรี-กลันตัน เป็นครั้งแรก ในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 พระกรุวัดท่าเรือได้แสดงปาฏิหาริย์สามารถประกาศชัยชนะสยบศัตรูได้อย่างราบ คาบ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้รับความดีความชอบเลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย) องค์สุดท้ายของประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นก็ได้อาราธนาพระกรุท่าเรือติดตัวในการทำสงครามอีกหลายต่อหลาย ครั้ง อาทิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ปีพ.ศ.2484 เหล่าศัตรูเกรงขามในความคงกระพันชาตรีของทหารเมืองนครศรีฯ เป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละครั้งเหล่าทหารก็จะนำพระกลับไปคืนเก็บไว้ที่วัด ดังเดิม ตามความเชื่อในสมัยก่อนว่าพระต้องอยู่วัดเท่านั้น โดยใส่ไหใส่ตุ่มฝังไว้บ้าง โยนไว้แถวเจดีย์ ใต้ต้นไม้ หรือบริเวณลานวัดบ้าง
กาลต่อมา วัดท่าเรือได้แปรสภาพเป็นวัดที่รกร้างมาเป็นเวลายาวนาน ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ ปรักหักพังเสื่อมโทรม องค์พระถูกทับถมอยู่ตามบริเวณต่างๆ ภายในวัด จนเมื่อกรมศิลปากรปรับที่ดินเพื่อสร้าง "วิทยาลัยนาฏศิลป์" ประมาณปี พ.ศ.2519 ได้ขุดพบซากพระอุโบสถและอื่นๆ ตามที่ระบุในใบลานทุกอย่าง รวมทั้ง "พระกรุวัดท่าเรือ" เมื่อพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ก็ยิ่งเป็นที่ศรัทธาและแสวงหากันเพิ่มยิ่งขึ้น สนนราคาก็ขึ้นสูงตาม
พระกรุวัดท่าเรือที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดิน มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด มีแร่กรวดทรายผสมอยู่ค่อนข้างมาก ที่เป็นพระเนื้อชินมีเป็นส่วนน้อยมาก พุทธศิลปะเป็นแบบอยุธยาตอนต้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์เล็ก, พิมพ์วงเขน, พิมพ์ตรีกาย และพระปิดตา เป็นต้น แต่ที่นับว่าเป็น "พิมพ์นิยม" ได้รับ การยอมรับและจัดให้เป็นพระอันดับหนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่" หรือ "พระซุ้มชินราช พิมพ์ใหญ่" องค์พระตัดกรอบแบบสี่เหลี่ยม พุทธลักษณะงามสง่า พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานบัวสองชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบซุ้มชินราช มีปรกโพธิ์ปกคลุมเหนือซุ้ม
ต่อด้วย พระกรุวัดนางตรา
วัดนางตรา หรือ วัดพะนังตา ตามประวัติ ศาสตร์กล่าวว่าสร้างโดยพระนางเลือดขาว บุตรีของคหบดีย่านหมู่บ้านป่อล้อ (ปัจจุบันอยู่ใน ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่) เป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี คือ ใบหน้างาม เนื้องาม นมงาม นิ้วงาม และน่องงาม มีอุปนิสัยเยือกเย็น สุขุม มีเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และยังมีจิตใจเป็นกุศล ชอบการทำบุญ ทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลต่างๆ อยู่เป็น เนืองนิจ ต่อมาได้เป็นพระมเหสีเอก ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์
แต่จนถึงกาลมัชฌิมวัยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเพื่อสืบสันตติวงศ์ จึงเข้าเฝ้ากราบทูลลาออกจากตำแหน่ง และใช้ชีวิตในช่วงปัจฉิมวัยด้วยการสร้างบุญกุศลสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา โดยบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัด ขึ้นมากมายทั่วเขตเมืองนครศรีธรรมราช
ส่วนใหญ่จะสร้างทับลงในบริเวณที่เป็นเทวาลัยเก่าของศาสนาพราหมณ์ เพราะในต้นยุคสมัยศรีวิชัยนั้นคนพื้นเมืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ล้วนนับถือ ศาสนาพราหมณ์ อาทิ วัดแม่เจ้าอยู่หัว วัดเขาพระทอง วัดถ้ำเขาแดง วัดสระโนราห์ รวมถึง วัดพระนาง และในทุกๆ วัดนั้น ล้วนมีการขุดพบพระพิมพ์ ทั้งเนื้อดิน ชิน ทอง เงิน และสัมฤทธิ์ ที่เป็นพระเครื่องและพระบูชามากมาย สันนิษฐานว่าพระนางเลือดขาวสร้างไว้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติ ความเชื่อซึ่งนับเป็นกุศล อันยิ่งใหญ่
ต่อกันที่พุทธศิลป์ของ "พระกรุนางตรา"
พระกรุนางตราที่แตกกรุออกมา มีพุทธศิลปะแบบศรีวิชัยยุคกลาง มีอายุประมาณปี พ.ศ.1500-1600 สร้างก่อนอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สีออกน้ำตาลแก่ ดำอมเทา หรือเหลืองมันปู ที่เป็นเนื้อชินมีน้อยมาก และมีมากมายหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์สามเหลี่ยมปาฏิหาริย์ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พิมพ์ยืนประทานพร ฯลฯ แต่ที่เป็น "พิมพ์นิยม" หนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์นาคปรกใหญ่" เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม พระประธานประทับนั่งสมาธิ แสดงปางนาคปรก มีลักษณะพิเศษที่ใต้ฐานนาคจะมีพระองค์เล็กประทับอยู่อีกหนึ่งองค์
พระกรุนางตรามีพุทธคุณเป็นที่ปรากฏด้านเมตตาและแคล้วคลาดคงกระพันเป็น เลิศ ที่สำคัญพระเครื่องแตกกรุออกมาจำนวนไม่มากนัก จึงมีสนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงและเป็นที่หวงแหนมาก
สุดท้ายของ "พระไตรภาคีแดนใต้" นั่นคือ พระกรุวัดนาสนธิ์...
วัดนาสนธิ์เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญควบคู่กับวัดท่าเรือ คือ ได้รับการสถาปนามาจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อครั้งสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ทรงศรีวิชัยยุคแรก หรือเมื่อคราวสร้างเมือง "พระเวียง" เป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรตามพรลิงค์ บนหาดทรายแก้ว ในระหว่างปี พ.ศ.1089-1300
'วัดนาสนธิ์' นั้น อยู่ติดกับ 'วัดเตาปูน' ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเตาเผาเปลือกหอยเพื่อทำปูนขาวผสมยางไม้และข้าวเหนียว สำหรับก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ยุคแรก พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคงเสด็จมาตรวจเตาปูน และทรงเห็นว่าเป็นสถานที่สงบวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จึงได้สถาปนาที่ตั้งเตาปูนเป็น 'วัดเตาปูน' และที่ประทับชั่วคราวเมื่อเสด็จมาตรวจดูเตาปูนเป็น 'วัดนาสนธิ์' พร้อมกันนี้ ได้โปรดฯ ให้สร้าง "พระพิมพ์" บรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาที่วัดนาสนธิ์อีกด้วย
พระ กรุวัดนาสนธิ์เท่าที่ปรากฏพบมีด้วยกัน 3 พิมพ์คือ พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง, พิมพ์ผาลไถ และพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 'พระไตรภาคี'
1.พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง
พิมพ์วงแขนนี้ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9.5 เซนติเมตร เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก จุดที่น่าสังเกตและจดจำคือ พระทุกๆ องค์จะต้องมี 'เส้น' อย่างน้อยหนึ่งเส้นปรากฏลึก คม ชัด อยู่ด้านหลังองค์พระ และมี 'รารักดำ' จับแน่นอยู่ตามซอกหรือด้านหลังขององค์พระด้วย
พระพิมพ์นี้ได้รับความ นิยมรองๆ ลงมาจากพิมพ์ใบพุทรา ปัจจุบันก็หาดูหาเช่ายากพอๆ กัน และนอกจากพบที่ 'กรุวัดนาสนธิ์' แล้ว ยังมีปรากฏที่ 'กรุวัดท่าเรือ' เช่นกัน แต่จะมีจุดสังเกตความแตกต่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายมาก เป็นของ "กรุวัดท่าเรือ" แต่ถ้าเนื้อละเอียด หนึกนุ่ม ก็จะเป็นของ "กรุวัดนาสนธิ์"
2.พิมพ์ผาลไถ
พระพิมพ์นี้ ขนาดความสูงประมาณ 8.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร เนื้อหามวลสารจะเหมือนกับพระพิมพ์วงแขนทุกอย่าง คือ เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก
3.พิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล หนึ่งในพระไตรภาคี
พระพิมพ์ใบพุทรา เป็นพระศิลปะศรีวิชัยยุคต้นบริสุทธิ์ ประมาณปี พ.ศ.1100-1300 พุทธศิลป์จะเป็นแนวอินเดียสกุลช่างปาละเสนะ อันเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ที่เรียกว่า "ขนมต้ม" ของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยต่อมา
สำหรับด้านพุทธคุณ ไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ใดใน 3 พิมพ์ ถ้าขึ้นชื่อว่า "พระกรุวัดนาสนธิ์" แล้ว การันตีได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้ง อำนาจ วาสนา บารมี โชคลาภ และคงกระพัน เหลือจะบรรยาย ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้มีพระพิมพ์ศรีวิชัยติดตัว ย่อมมีชัยชนะอย่างสง่างามในทุกด้าน"
ก็ครบถ้วนกระบวนความสำหรับพระดังแดนใต้ 'ท่าเรือ นางตรา และนาสนธิ์' ที่ใครต่อใครก็อยากครอบครองเป็นเจ้าของ แต่นับวันจะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก โดยเฉพาะพิมพ์พิเศษในชุด "พระไตรภาคี" ครับผม
พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บทความพระเครื่อง
http://www.itti-patihan.com/พระกรุวัดท่าเรือ-พระกรุวัดนางตรา-พระกรุวัดนาสนธิ์-พระไตรภาคีแดนใต้.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น