วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติการสร้าง พระกริ่งหลักชัยหรือพระกริ่งบาเก็ง 1 ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์

ประวัติการสร้าง พระกริ่งหลักชัยหรือพระกริ่งบาเก็ง 1 ของท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์



สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน พระกริ่งของวัดสุทัศน์เป็นพระกริ่งที่มีชื่อเสียง และมีผู้นิยมกันมาก ด้วยความศรัทธาในองค์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) และศิษย์ใกล้ชิดผู้สืบทอดการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ต่อมาคือ ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ท่านได้เป็นผู้ช่วยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในการสร้างพระกริ่งมาโดยตลอด ต่อมาท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ท่านก็ได้ขออนุญาตสมเด็จพระสังฆราชสร้างพระกริ่งของท่านเองด้วย

วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

จอมพลป.พิบูลย์สงสรามกับประวัติการจัดสร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ

จอมพลป.พิบูลย์สงสรามกับประวัติการจัดสร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ



การขึ้นครองอำนาจของรัฐบาลชาตินิยมครั้งแรกของ ฯพณฯ จอมพลแปลก ขีตตะสังขะ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า จอมพล ป.พิบูลสงคราม ในช่วงปี พ.ศ.2481-2487 นั้น เป็นช่วงที่สยามประเทศกำลังมีความฮึกเหิมจากการได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศส และร่วมเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เพื่อสร้างเผ่า "ไทยสยาม" ให้ยิ่งใหญ่เหนือเผ่าไทยอื่นๆ

ในยุคนี้มีเรื่องเล่าลือเกี่ยวกับความ มหัศจรรย์ของพระเครื่องที่ ท่านผู้นำได้อาราธนาติดตัวมากมายหลายเรื่อง อาทิ หลวงวิจิตรวาทการ เคยเห็นมีแสงรัศมีเปล่งออกมาจากตัวจอมพล ป. และศรัทธา แก่กล้าถึงขนาด หลวงวิจิตรฯลงก้มกราบต่อหน้าสาธารณชน ตอนแรกก็ว่าเป็นแสงจากตัวท่านเอง
แต่ต่อมาจะเก้อกระดากหรืออย่างไร ไม่ทราบ สอบถามได้ความว่าเป็นแสง ที่เปล่งมาจากพระเครื่องที่ห้อยติดตัวท่านจอมพล

แม้กระทั่งในการขึ้นครองอำนาจครั้งที่สอง (2491-2500) เมื่อทหารเรือก่อกบฏแมนฮัตตัน จี้จับท่านเป็น ตัวประกันอยู่ในเรือรบ ผู้หวังดีพากันทิ้งระเบิดและยิงเรือที่ท่านถูกจับอยู่ แม้จะมีคำสั่งห้ามยิง ท่านยังสามารถกระโดดลงน้ำว่ายหนีกลับขึ้นฝั่งอย่างน่ามหัศจรรย์ ล่ำลือว่าเป็นเพราะ "พระเครื่อง" ที่ท่านห้อยแขวนอยู่ช่วยให้รอดปลอดภัย แต่สอบสวนทวนความก็ยังไม่รู้ว่าห้อยพระเครื่องอะไร
นี่ยังไม่นับการถูกลอบสังหารโดยการวางยาพิษในอาหาร และการลอบยิงหลายต่อหลายครั้งที่แคล้วคลาดทั้งสิ้น

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

คำศัพท์เซียน ตีตั๋วเด็ก ซื้อตั๋วครึ่งราคา เหนื่อยและกิน (เมตตาธรรม ค้ำจุน วงการพระ)

คำศัพท์เซียน ตีตั๋วเด็ก ซื้อตั๋วครึ่งราคา เหนื่อยและกิน (เมตตาธรรม ค้ำจุน วงการพระ)

เศรษฐกิจฝืดเคือง วงการพระเครื่องฯ ย่อมมีผลกระทบ รายจ่ายเพิ่มรายได้ไม่ขยับเท่ากับติดลบโดยอัตโนมัติ นักเล่นพระจึงต้องรัดเข็มขัดประหยัดการเช่าหา ข้างเซียนอาชีพยังคงต้องอดทน-ดิ้นรนหาพระเครื่องต้นทุนต่ำเข้าไว้ ไปกันได้กับสามศัพท์เซียนในตอนนี้

ตีตั๋วเด็ก : ภาษาต่อรองร้องขอความเห็นใจในการขอเช่าพระในราคาถูกเป็นพิเศษ คำนี้มีความหมายตามพจนานุกรมแปลไว้ว่า...ซื้อตั๋วครึ่งราคา (Buy a half-priced ticket) เป็นการให้สิทธิพิเศษกับเด็กเล็กในการใช้บริการต่างๆ ที่ต้องซื้อตั๋ว-บัตรผ่าน ถูกหยิบยืมมาใช้เจรจาต่อรองราคาพระเครื่องกับ เซียนใหญ่ มีนัยที่แสดงท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตนจากฝ่ายผู้พูดให้ดูด้อยอาวุโส เปรียบเช่นเด็กน้อยตาดำๆ เรียกคะแนนสงสาร ร้องขอความเมตตากันสุดฤทธิ์ มีความหมายว่าช่วยลดราคาให้...มว้ากๆ

เซียนไหน-ใครฟังก็ต้องสะอึกกระอัก กระอ่วนใจ เพราะตีความหมายได้ว่ามูลค่าลดไป...50 เปอร์เซ็นต์! เกิดขึ้นในเวลาที่เซียนน้อยเดินเข้าร้านเซียนใหญ่ ขอส่อง-ชอบ-อยากได้-ถามราคา แต่ปรากฏว่า...สู้ไม่ไหว ครั้นจะติว่าพระเครื่องของพี่เค้าแพงก็จะดูแรง อาจโดนค้อน...งอนได้ พานตีหน้าเข้มเก็บพระเครื่องเข้า ตู้ เบือนหน้าหนีไม่พูดด้วย ทีนี้แทนที่จะต่อกันทีละขยักเกรงว่าจะชักช้า เลยใช้วิชาใจกล้า... "หน้าไม่บาง" เป็นศิลปะการเจรจาต่อรองอย่างโหด-ฮวบฮาบ-ไม่มันส์ฮา แต่...นุ่มเนียน

นิสัยเซียนเค้าชอบแบบ...เคลียร์คัต-ชัดเจน ส่องพระเครื่องของ เค้าแล้วขอให้ถาม-ขอให้ต่อ...อย่าเงียบ! เผื่อโชคดีเพราะบางทีพี่เค้าแอบบอกผ่านเอาไว้เยอะ...ถ้าไม่เจอะ Teen ซะก่อน "ตีตั๋วเด็ก" สัมพันธ์กับศัพท์เซียนอีก 2 คำ นำเสนอเข้าชุดเลยละกัน 2 คำนั้นคือ... "เหนื่อย" และ "กิน"
เหนื่อย : อาการที่ได้พระมาในต้นทุนที่สูง ทำให้ปล่อยยากหรือได้กำไรน้อยมาก คือศัพท์ที่เป็นต้นเหตุของการขอ...ตีตั๋วเด็ก จะได้ถ่างช่องว่างเล็กๆ ระหว่าง "ต้นทุน" กับ "ราคาขาย" ให้ขยายเป็น "กำไร" อย่างคุ้มค่า ไม่งั้น...เหนื่อย คนรุ่นใหม่จำนวนมากอยากเข้ามายังชีพด้วยการขายพระ เพียงเพราะเห็นว่าเป็นงานไม่ลำบากจะไต่เต้า เขาเหล่านั้นมักขาดปัจจัยหมุนเวียนแบบเซียนใหญ่-เซียนเก่าที่เค้าทำมานาน ตั้งแต่ยุคสมัยที่การสื่อสารไม่ฉับไว-ไม่ทันการณ์ ผู้คนยังไม่รู้เท่าทันกันเหมือนเดี๋ยวนี้ ในวันนั้น โอกาสจะได้พระฟลุกราคาถูกย่อมเป็นไปได้ แต่...ไม่ใช่ปัจจุบัน

วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556

พระล้อพิมพ์ อย่าล้อเล่น (พระเลียนแบบพิมพ์ที่โด่งดังในอดีต)

พระล้อพิมพ์ อย่าล้อเล่น (พระเลียนแบบพิมพ์ที่โด่งดังในอดีต)

คราวก่อนที่เคยเสนอตอน "บล็อกลองพิมพ์" ไปแล้วนั้น ก็มีบางท่านทวงถามถึงศัพท์คำว่า... "พระล้อพิมพ์" คือเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องฯ อีกแนวหนึ่งซึ่งยังไม่เคยเขียนถึง ควรที่จะนำมาเสนอให้ทราบกัน มีที่มาที่ไปยังไง...เชิญรับฟัง

พระล้อพิมพ์ : พระใหม่ที่สร้างเลียนแบบพระเครื่องฯ ที่โด่งดังในอดีต นัยของศัพท์คำนี้มีเจตนาที่แสดงไว้ชัดว่าไม่ใช่พระเก่าดั้งเดิม จัดเป็นพระแท้แต่...รุ่นใหม่ สร้างเลียนแบบพระต้นฉบับในอดีตอีกทีให้ดูแค่...คล้าย ไม่ตั้งใจให้ใครเข้าใจผิดเหมือนพระปลอมที่พยายามลอกแบบจนใกล้เกือบ...เหมือน
จากคำแปล จึงน่าจะเรียกกันได้อีกอย่างว่า "พระเลียนแบบพิมพ์" วงการพระเครื่องก็ดีอย่าง ไม่หวงห้าม-ให้หยิบยืมพระพิมพ์ไหนก็ได้...ไม่ต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์! เหตุผลที่ต้องทำพระลักษณะนี้ เพราะมีคนเบี้ยน้อยจำนวนมากอยากได้พระเครื่องในรุ่นที่โด่งดังไว้ใช้บูชากะเขาบ้าง

ครั้นจะไปหาเช่าของดีพระเดิมก็ต้องเพิ่มตังค์อีกมากโข จึงทำใจไม่ยึดติด ไม่คิดเหมือนเซียนใหญ่-นักเล่นพระไฮโซที่ต้องเอาให้ได้แต่เฉพาะรุ่นแรกเริ่ม การจะสร้างพระล้อกับพิมพ์พระเครื่องฯ รุ่นไหน ก็มักล้อไปกับกระแสความนิยมในวงการ ปฏิเสธไม่ได้ว่าพระเครื่องฯ ที่คนไทยใฝ่ฝันอยากได้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น... "พระสมเด็จวัดระฆังฯ"

ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพระที่ล้อพิมพ์พระจากวัด นี้จะมีมากที่สุดในประเทศไทย สรุปได้เลยว่า...ไม่มีวัดไหนไม่มีพระสมเด็จ ตรวจสอบได้จากกรอบพระ สแตนเลสรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะ ถูกผลิตออกมาจำหน่ายในตลาดมากเป็นอันดับต้นๆ

ล้อรองลงมาก็เป็นพระในชุดเบญจภาคีอีก 4 องค์ คือ "พระรอด" "พระนางพญา" "พระกำแพงซุ้มกอ" "พระผงสุพรรณ" เนื่องด้วยพระชุดนี้เป็นที่โจษจัน-ยอมรับ ถูกสนับสนุนจากคุณเซียนๆ ทั้งหลายมานานแล้วว่าเป็นที่สุด

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหรียญ หลวงพ่อป้อ ธัมมสิริ วัดโพธิ์ศรีบ้านเอียด รุ่นนั่งเต็มองค์

เหรียญ หลวงพ่อป้อ ธัมมสิริ วัดโพธิ์ศรีบ้านเอียด รุ่นนั่งเต็มองค์



"หลวงปู่ป้อ ธัมมสิริ" วัดโพธิ์ศรีบ้านเอียด ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์เรืองวิทยาคมรูปหนึ่งของภาคอีสาน มีพลังจิตเข้มขลัง วิทยาคมแก่กล้า เป็นบูรพาจารย์รุ่นเก่าแห่งภาคอีสาน
วัตถุมงคลของ หลวงปู่ป้อที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดและราคาเช่าหาหลักหมื่นยาวนานกว่า 50 ปี คือ เหรียญรูปไข่รูปเหมือนรุ่นแรก สร้างเมื่อปี 2499 ที่วงการพระเครื่องเรียก ว่า บล็อกหน้าฝรั่ง ผู้พกบูชาติดตัวต่างมีประสบการณ์มากมาย กล่าวขวัญกันว่าเป็นรุ่นที่หลวงปู่ป้ออธิษฐานจิตด้วยตัวเอง ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพในปี 2502

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บูรณะ หลวงพ่อทอง วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท

บูรณะ หลวงพ่อทอง วัดพระบรมธาตุวรวิหาร จังหวัดชัยนาท



"วัดพระบรมธาตุวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 173 หมู่ที่ 6 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณ

มีประวัติว่า สร้างสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช โดยมีพระเถระอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) บรรจุในพระปรางค์

สอดคล้องกับพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ว่า พระเจดีย์องค์นี้ สร้างก่อนสมัยขอมรุ่งเรือง ด้วยจำหลักจากหินทั้งองค์ เป็นที่เลื่อมใสยิ่งนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชก็เสด็จฯ มากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ด้วย

วัดพระบรมธาตุวรวิหาร ยังเป็นที่เลื่อมใสของพระมหาเถราจารย์ในอดีต อาทิ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆ สิตาราม ขณะเป็นสามเณรได้มาศึกษากับหลวงพ่อคำ ในปี พ.ศ.2345-2348 และเป็นตำนานของคำว่า "จระเข้ขวางคลอง" และยังมีหลวงพ่อโพ วัดวังหมาเน่า, หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

พระกรุวัดท่าเรือ พระกรุวัดนางตรา พระกรุวัดนาสนธิ์ พระไตรภาคีแดนใต้

พระกรุวัดท่าเรือ พระกรุวัดนางตรา พระกรุวัดนาสนธิ์ พระไตรภาคีแดนใต้



"พระไตรภาคี" เป็นพระเครื่องยอด นิยมอันดับหนึ่งของเมืองนครศรีฯ สมัยเมื่อ 20-30 ปีมาแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 3 พิมพ์ คือ พระพิมพ์ปรกโพธิ์ใหญ่นิยม กรุวัดท่าเรือ (วัดท่าโพธิ์), พระพิมพ์นาคปรกใหญ่ กรุวัดนางตรา และพระพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล กรุวัดนาสนธิ์ หรือที่เรียกกันในวงการนักเลงพระยุค นั้นว่า "ท่าเรือ นางตรา นาสนธิ์" ปัจจุบันนี้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมสูงและเสาะแสวงหากันอยู่ แต่ค่อนข้างหาดูได้ยากกว่าแต่ก่อนมาก ลองมาดูกันว่าแต่ละวัดเป็นอย่างไร
เริ่มที่ พระกรุวัดท่าเรือ

วัดท่าเรือ หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดท่าโพธิ์" นั้น จากหลักฐานในหนังสือใบลานผูก ซึ่งสันนิษฐานว่าเขียนโดยบัณฑิตในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรี อยุธยา ระบุว่า "วัดนี้สร้างในสมัยพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช โดยทรงสถาปนาวัดท่าเรือร่วมกับพระภิกษุชาวลังกา เพื่อประดิษฐานวิหารพระเจดีย์ รวมทั้งสร้าง "พระพิมพ์" ขนาดต่างๆ ขึ้น เพื่อฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.1773 นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันอันตรายแก่ผู้ที่อาราธนาติดตัว โดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ป้องกันชาติบ้านเมือง พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราชทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกลที่จะให้ชนรุ่นหลัง ผู้ทำหน้าที่รักษาบ้านเมือง ได้นำติดตัวออกไปป้องกันภัยเมื่อยามจำเป็น จึงทรงผูกลายแทงไว้คู่กับวัดท่าเรือ ..."

ต่อมา ทวดศักดิ์สิทธิ์ วัดศาลามีชัย ได้แก้ลายแทงขุมทรัพย์วัดท่าเรือให้เจ้าพระยานคร (น้อย) และให้ทหารขุดเอา "พระกรุท่าเรือ" ไปป้องกันตัวในสงครามปราบกบฏเมืองไทรบุรี-กลันตัน เป็นครั้งแรก ในปลายสมัยรัชกาลที่ 2 พระกรุวัดท่าเรือได้แสดงปาฏิหาริย์สามารถประกาศชัยชนะสยบศัตรูได้อย่างราบ คาบ เจ้าพระยานคร (น้อย) ได้รับความดีความชอบเลื่อนยศขึ้นเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย) องค์สุดท้ายของประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช หลังจากนั้นก็ได้อาราธนาพระกรุท่าเรือติดตัวในการทำสงครามอีกหลายต่อหลาย ครั้ง อาทิ สงครามมหาเอเชียบูรพา ปีพ.ศ.2484 เหล่าศัตรูเกรงขามในความคงกระพันชาตรีของทหารเมืองนครศรีฯ เป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จสิ้นสงครามแต่ละครั้งเหล่าทหารก็จะนำพระกลับไปคืนเก็บไว้ที่วัด ดังเดิม ตามความเชื่อในสมัยก่อนว่าพระต้องอยู่วัดเท่านั้น โดยใส่ไหใส่ตุ่มฝังไว้บ้าง โยนไว้แถวเจดีย์ ใต้ต้นไม้ หรือบริเวณลานวัดบ้าง

กาลต่อมา วัดท่าเรือได้แปรสภาพเป็นวัดที่รกร้างมาเป็นเวลายาวนาน ศาสนสถานและศาสนวัตถุต่างๆ ปรักหักพังเสื่อมโทรม องค์พระถูกทับถมอยู่ตามบริเวณต่างๆ ภายในวัด จนเมื่อกรมศิลปากรปรับที่ดินเพื่อสร้าง "วิทยาลัยนาฏศิลป์" ประมาณปี พ.ศ.2519 ได้ขุดพบซากพระอุโบสถและอื่นๆ ตามที่ระบุในใบลานทุกอย่าง รวมทั้ง "พระกรุวัดท่าเรือ" เมื่อพุทธคุณเป็นที่ปรากฏ ก็ยิ่งเป็นที่ศรัทธาและแสวงหากันเพิ่มยิ่งขึ้น สนนราคาก็ขึ้นสูงตาม

พระกรุวัดท่าเรือที่พบส่วนใหญ่เป็นพระเนื้อดิน มีทั้งเนื้อหยาบและละเอียด มีแร่กรวดทรายผสมอยู่ค่อนข้างมาก ที่เป็นพระเนื้อชินมีเป็นส่วนน้อยมาก พุทธศิลปะเป็นแบบอยุธยาตอนต้น มีด้วยกันหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่, พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์เล็ก, พิมพ์วงเขน, พิมพ์ตรีกาย และพระปิดตา เป็นต้น แต่ที่นับว่าเป็น "พิมพ์นิยม" ได้รับ การยอมรับและจัดให้เป็นพระอันดับหนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์ปรกโพธิ์ พิมพ์ใหญ่" หรือ "พระซุ้มชินราช พิมพ์ใหญ่" องค์พระตัดกรอบแบบสี่เหลี่ยม พุทธลักษณะงามสง่า พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานบัวสองชั้น อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบซุ้มชินราช มีปรกโพธิ์ปกคลุมเหนือซุ้ม

ต่อด้วย พระกรุวัดนางตรา

วัดนางตรา หรือ วัดพะนังตา ตามประวัติ ศาสตร์กล่าวว่าสร้างโดยพระนางเลือดขาว บุตรีของคหบดีย่านหมู่บ้านป่อล้อ (ปัจจุบันอยู่ใน ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่) เป็นหญิงที่เพียบพร้อมด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี คือ ใบหน้างาม เนื้องาม นมงาม นิ้วงาม และน่องงาม มีอุปนิสัยเยือกเย็น สุขุม มีเมตตา เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และยังมีจิตใจเป็นกุศล ชอบการทำบุญ ทำทาน ช่วยเหลือเกื้อกูลบุคคลต่างๆ อยู่เป็น เนืองนิจ ต่อมาได้เป็นพระมเหสีเอก ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เจ้าแห่งราชอาณาจักรตามพรลิงค์
แต่จนถึงกาลมัชฌิมวัยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่มีพระราชโอรสหรือพระราชธิดาเพื่อสืบสันตติวงศ์ จึงเข้าเฝ้ากราบทูลลาออกจากตำแหน่ง และใช้ชีวิตในช่วงปัจฉิมวัยด้วยการสร้างบุญกุศลสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา โดยบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างวัด ขึ้นมากมายทั่วเขตเมืองนครศรีธรรมราช

ส่วนใหญ่จะสร้างทับลงในบริเวณที่เป็นเทวาลัยเก่าของศาสนาพราหมณ์ เพราะในต้นยุคสมัยศรีวิชัยนั้นคนพื้นเมืองของอาณาจักรตามพรลิงค์ล้วนนับถือ ศาสนาพราหมณ์ อาทิ วัดแม่เจ้าอยู่หัว วัดเขาพระทอง วัดถ้ำเขาแดง วัดสระโนราห์ รวมถึง วัดพระนาง และในทุกๆ วัดนั้น ล้วนมีการขุดพบพระพิมพ์ ทั้งเนื้อดิน ชิน ทอง เงิน และสัมฤทธิ์ ที่เป็นพระเครื่องและพระบูชามากมาย สันนิษฐานว่าพระนางเลือดขาวสร้างไว้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาตามคติ ความเชื่อซึ่งนับเป็นกุศล อันยิ่งใหญ่

ต่อกันที่พุทธศิลป์ของ "พระกรุนางตรา"
พระกรุนางตราที่แตกกรุออกมา มีพุทธศิลปะแบบศรีวิชัยยุคกลาง มีอายุประมาณปี พ.ศ.1500-1600 สร้างก่อนอาณาจักรละโว้หรือลพบุรี เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านยา สีออกน้ำตาลแก่ ดำอมเทา หรือเหลืองมันปู ที่เป็นเนื้อชินมีน้อยมาก และมีมากมายหลายพิมพ์ทรง เช่น พิมพ์สามเหลี่ยมปาฏิหาริย์ พิมพ์ซุ้มปรางค์ พิมพ์ยืนประทานพร ฯลฯ แต่ที่เป็น "พิมพ์นิยม" หนึ่งในพระชุดไตรภาคี คือ "พิมพ์นาคปรกใหญ่" เป็นพระทรงสี่เหลี่ยม พระประธานประทับนั่งสมาธิ แสดงปางนาคปรก มีลักษณะพิเศษที่ใต้ฐานนาคจะมีพระองค์เล็กประทับอยู่อีกหนึ่งองค์
พระกรุนางตรามีพุทธคุณเป็นที่ปรากฏด้านเมตตาและแคล้วคลาดคงกระพันเป็น เลิศ ที่สำคัญพระเครื่องแตกกรุออกมาจำนวนไม่มากนัก จึงมีสนนราคาเช่าหาค่อนข้างสูงและเป็นที่หวงแหนมาก
สุดท้ายของ "พระไตรภาคีแดนใต้" นั่นคือ พระกรุวัดนาสนธิ์...

วัดนาสนธิ์เป็นวัดเก่าแก่และมีความสำคัญควบคู่กับวัดท่าเรือ คือ ได้รับการสถาปนามาจากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เมื่อครั้งสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ทรงศรีวิชัยยุคแรก หรือเมื่อคราวสร้างเมือง "พระเวียง" เป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรตามพรลิงค์ บนหาดทรายแก้ว ในระหว่างปี พ.ศ.1089-1300

'วัดนาสนธิ์' นั้น อยู่ติดกับ 'วัดเตาปูน' ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งเตาเผาเปลือกหอยเพื่อทำปูนขาวผสมยางไม้และข้าวเหนียว สำหรับก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ยุคแรก พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชคงเสด็จมาตรวจเตาปูน และทรงเห็นว่าเป็นสถานที่สงบวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนาของพระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสี ครั้นเมื่อสร้างพระธาตุเจดีย์แล้วเสร็จ จึงได้สถาปนาที่ตั้งเตาปูนเป็น 'วัดเตาปูน' และที่ประทับชั่วคราวเมื่อเสด็จมาตรวจดูเตาปูนเป็น 'วัดนาสนธิ์' พร้อมกันนี้ ได้โปรดฯ ให้สร้าง "พระพิมพ์" บรรจุกรุไว้เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนาที่วัดนาสนธิ์อีกด้วย
พระ กรุวัดนาสนธิ์เท่าที่ปรากฏพบมีด้วยกัน 3 พิมพ์คือ พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง, พิมพ์ผาลไถ และพิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 'พระไตรภาคี'



1.พิมพ์วงแขน หรือพิมพ์พระจันทร์เต็มดวง

พิมพ์วงแขนนี้ จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9.5 เซนติเมตร เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก จุดที่น่าสังเกตและจดจำคือ พระทุกๆ องค์จะต้องมี 'เส้น' อย่างน้อยหนึ่งเส้นปรากฏลึก คม ชัด อยู่ด้านหลังองค์พระ และมี 'รารักดำ' จับแน่นอยู่ตามซอกหรือด้านหลังขององค์พระด้วย
พระพิมพ์นี้ได้รับความ นิยมรองๆ ลงมาจากพิมพ์ใบพุทรา ปัจจุบันก็หาดูหาเช่ายากพอๆ กัน และนอกจากพบที่ 'กรุวัดนาสนธิ์' แล้ว ยังมีปรากฏที่ 'กรุวัดท่าเรือ' เช่นกัน แต่จะมีจุดสังเกตความแตกต่างง่ายๆ ก็คือ ถ้าเนื้อหยาบ มีเม็ดทรายมาก เป็นของ "กรุวัดท่าเรือ" แต่ถ้าเนื้อละเอียด หนึกนุ่ม ก็จะเป็นของ "กรุวัดนาสนธิ์"

2.พิมพ์ผาลไถ

พระพิมพ์นี้ ขนาดความสูงประมาณ 8.5 เซนติเมตร กว้างประมาณ 6 เซนติเมตร เนื้อหามวลสารจะเหมือนกับพระพิมพ์วงแขนทุกอย่าง คือ เนื้อองค์พระค่อนข้างละเอียด มีวรรณะเหลืองนวล ปรากฏแร่ลูกรัง ชิ้นส่วนเปลือกหอยกาบ และแร่ว่านดอกมะขาม ผุดประ ปรายอยู่ทั่วองค์พระ มีเม็ดทรายแก้วขนาดเขื่องสีขุ่นขาวอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ไม่มากนัก

3.พิมพ์ใบพุทราหรือพิมพ์ยอดขุนพล หนึ่งในพระไตรภาคี

พระพิมพ์ใบพุทรา เป็นพระศิลปะศรีวิชัยยุคต้นบริสุทธิ์ ประมาณปี พ.ศ.1100-1300 พุทธศิลป์จะเป็นแนวอินเดียสกุลช่างปาละเสนะ อันเป็นต้นแบบพุทธศิลป์ที่เรียกว่า "ขนมต้ม" ของเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยต่อมา

สำหรับด้านพุทธคุณ ไม่ว่าจะเป็นพระพิมพ์ใดใน 3 พิมพ์ ถ้าขึ้นชื่อว่า "พระกรุวัดนาสนธิ์" แล้ว การันตีได้ว่า "ครอบจักรวาล" ทั้ง อำนาจ วาสนา บารมี โชคลาภ และคงกระพัน เหลือจะบรรยาย ดังคำโบราณกล่าวไว้ว่า "ผู้มีพระพิมพ์ศรีวิชัยติดตัว ย่อมมีชัยชนะอย่างสง่างามในทุกด้าน"
ก็ครบถ้วนกระบวนความสำหรับพระดังแดนใต้ 'ท่าเรือ นางตรา และนาสนธิ์' ที่ใครต่อใครก็อยากครอบครองเป็นเจ้าของ แต่นับวันจะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก โดยเฉพาะพิมพ์พิเศษในชุด "พระไตรภาคี" ครับผม

พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์
บทความพระเครื่อง

http://www.itti-patihan.com/พระกรุวัดท่าเรือ-พระกรุวัดนางตรา-พระกรุวัดนาสนธิ์-พระไตรภาคีแดนใต้.html